บาร์โค้ด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.บาร์โค้ด 1 มิติ (1D)

มีลักษณะเป็นเส้นขาวดำที่มีความหนาบางสลับกัน เหมาะกับการใช้งานทั่วไปที่ไม่ต้องการใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเยอะ เช่น รหัสสินค้า ชื่อผลิตภัณฑ์ เลขประจำตัว เลขสมาชิก Serial no. และ Lot no. ของสินค้าเป็นต้น ซึ่งบาร์โค้ด 1 มิติ ที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ตระกูล คือ EAN 13, Code 39, Code 128

ตระกูล EAN 13 – ต้องไปขึ้นทะเบียนกับ GS1 , เป็นตัวเลขชุด 13 หลัก นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม

ตระกูล Code 39, Code 128 – เป็นบาร์โค้ดที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียน ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน สามารถนำมาใช้ได้ฟรีกับสินค้าทั่วไป

2. บาร์โค้ด 2 มิติ (2D)

ออกแบบให้บรรจุข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลได้มากถึงประมาณ 4,000 ตัวอักษร หรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติ ในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า สามารถบรรจุข้อมูลภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาไทย ญี่ปุ่น จีน หรือ เกาหลี เป็นต้น บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถถูกถอดรหัสได้แม้ว่าบาร์โค้ดบางส่วนเกิดการเสียหาย

บาร์โค้ด 2 มิติ ที่นิยมใช้ทั่วไปมี 3 ตระกูล คือ QR Code, Data Matrix และ PDF417

ตระกูล QR Code – บาร์โค้ดชนิดนี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ จ่ายบิล ชำระเงิน เพิ่มเพื่อนใน LINE ตั๋วเข้างานต่างๆ Bording Pass ตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น

ตระกูล Data Matrix – บาร์โค้ดชนิดนี้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิค อาหาร อะไหล่รถยนต์ และเครื่องจักร เป็นต้น

ตระกูล PDF417 – บาร์โค้ดชนิดนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและถูกต้องเป็นพิเศษ

วันที่ 31 พฤษภาคม 2564

ข่าวสารแนะนำ