ค่าการเกิดเม็ดสกรีนบวม เม็ดสกรีนบวม เป็นลักษณะปกติของการพิมพ์ออฟเซต เนื่องจากการพิมพ์ออฟเซต เป็นการถ่ายทอดภาพจากโมเพลท ลงสู่โมผ้ายาง และสู่วัสดุใช้พิมพ์ การถ่ายทอดภาพจากกระบวนการดังกล่าว จะมีการใช้แรงกดและส่งผลโดยตรงต่อการเกิดเม็ดสกรีนบวม
แต่หากมีการปรับตั้งแรงกดที่ไม่ถูกต้องระหว่างโมเพลทลงสู่โมผ้ายาง หรือโมผ้ายางลงสู่วัสดุใช่พิมพ์ จะทำให้เกิดการบวมตัวของเม็ดสกรีนที่มากเกินไป และทำให้เกิดปัญหาในการพิมพ์งาน เม็ดสกรีนบวมจะเป็นการแสดงลักษณะของภาพพิมพ์ได้อย่างชัดเจน
ทำให้เราสามารถทำการแก้ไขคุณลักษณะทางการพิมพ์ได้ จากภาพจะสามารถสังเกตได้ว่า งานพิมพ์ทุกงาน จากเครื่องพิมพ์ที่แตกต่างกัน จะสามารถมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
จากภาพจะมีคุณลักษณะทางการพิมพ์แบบที่ 1 และ 2 จะสังเกตได้ว่าการผลิตเม็ดสกรีนของทั้งสองเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยค่าความดำที่เท่ากัน มีการเกิดเม็ดสกรีนบวมที่แตกต่างกัน และทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้มีสีที่แตกต่างกันนั้นเอง เม็ดสกรีนบวมที่ไม่เท่ากันอาจเกิดจากแรงกดในการพิมพ์งานที่ไม่เท่ากัน แรงกดในการพิมพ์ออฟเซต ระหว่างโมเพลทลงสู่โมผ้ายางจะเกิดจากการรองหนุนโมเพลทและโมผ้ายาง แรงกดมาตรฐานในการพิมพ์ออฟเซต จะมีค่าเท่ากับ 0.10 โดยหากมีการรองหนุนที่ไม่ตรงตามคู่มือการใช้งาน จะทำให้แรงกดระหว่างโมแม่พิมพ์กับโมผ้ายางไม่ได้ตามมาตรฐาน และทำให้ส่งผลต่อการเกิดเม็ดสกรีนบวมในขณะเดียวกัน แรงกดระหว่างผ้ายางลงสู่วัสดุใช้พิมพ์ จะเกิดจากการปรับตั้งแรงกดในการพิมพ์งาน โดยจะปรับตั้งตามความหนาของวัสดุที่ใช้พิมพ์ โดยระบบของเครื่องพิมพ์ในปัจจุบัน หากมีการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ช่างพิมพ์สามารถป้อนค่าความหนาของวัสดุใช้พิมพ์ลงสู่คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเครื่องพิมพ์จะทำการระยะแรงกดระหว่างผ้ายางและวัสดุใช้พิมพ์โดยอัตโนมัติ
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564